กุมภาพันธ์ 05, 2568

สมาชิกสภาเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2566

เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกร

    โครงสร้างและบุคลากรสภาเกษตรกร จังหวัดสุราษฏร์ธานี    
                   
       

 นายวิทวัฒน์  พรมสอน
หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตรรักษาการหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

       
     
  ฝ่ายอำนวยการ     ส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร  
 
นางณัฐรดา  วิมลศรี
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
   
นายธวัชชัย  รัตนจิตต์
หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร
 
   
 
นางพอใจ  ศรีเกิด
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
 
นางสาวจิราพร  สุขราช
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
นายปิยะวัฒน์  ละออย้อย
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
นายเอกพงศ์ หงษ์พฤกษ์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
           
นางสาวนงนุช  อะริวะสะโร
พนักงานทำความสะอาด
นายสนธยา ทองดี
พนักงานขับรถ
           
                   

 

 

อำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกร ฯ

1. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด
2. ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกร ในจังหวัด ในรูปแบบต่างๆ
4. เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
5. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและ ยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน
6. เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ
7. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
8. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินการใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้
9. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ
 
          ในการดำเนินการของสภาเกษตรกรทั้ง 2 ระดับ กฎหมายกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ วางกฎหมายว่าด้วย การงบประมาณหรือกฎหมายอื่นๆ โดยมีเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติและหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง มีอำนาจดังนี้
อำนาจหน้าที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด 
1. รับผิดชอบงานธุรการ และทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรจังหวัด
2. รวบรวม ศึกษา วิจัย พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
3. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ได้ทราบถึงนโยบาย แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัด และการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
4. จัดให้มีระบบฐานข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต ผลผลิต การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รวมทั้งการตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
5. ประสานการดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. จัดทำรายงานประจำปีของสภาเกษตรกรจังหวัด
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดมอบหมาย

ติดต่อสอบถาม

ความเป็นมาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84(8) ประกอบมาตรา 303(1) ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

         กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการยกร่างกฎหมาย ว่าด้วยสภาเกษตรกร โดยมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์) เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองนิติการ (ขณะนั้น) เป็นกรรมการ และเลขานุการ เพื่อ ดำเนินการ ศึกษา และยกร่างกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข็มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความร ู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆในการนี้ ได้มีการนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ แต่ละภาค รวม 4 ภาค แล้วนำข้อมูลที่ได้ จากการรับฟังความคิดเห็น มาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และได้เสนอไปยัง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินการ ตามกระบวนการตรากฎหมาย

ความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.

ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ... มีผู้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
รวม 9 ฉบับ คือ

  1. คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เสนอต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 19 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 28 มีนาคม 2552
  2. นายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน กับคณะ (ปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทย) ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  3. นายศุภชัย โพธ์สุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษกร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และได้บรรจุ ระเบียบวาระการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  4. นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 8 เมษายน 2552
  5. นายอนันต์ ศรีพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 26 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2552
  6. นายสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 28 (สมัยวิสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552
  7. นายภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา กับคณะ ซึ่งได้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 และได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 9 กันยายน 2552

    Background

    It was stated in Article 84(8) of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 (2007), that the state must implement the economic policy to protect and maintain the benefits of farmers in production and marketing, promote maximum return for agricultural products and encourage the formation of farmers to form farmer council for agricultural planning and maintaining the common benefits of farmers. This then, in accordance with Article 303(1) of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550, led to the proclamation of the “National Farmers Council Act, B.E. 2553 (2010),” which was effective on 20 November 2010.

    In line with the enactment of the National Farmers Council Act, B.E. 2553, it gave birth to the establishment of the “National Farmers Council,” which was comprised with 100 members, on the 23rdMarch 2010.

Image
"สภาเกษตรกร ของเกษตรกร เพื่อเกษตรกร"

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 
อาคารส่วนราชการจังหวัด ชั้น 2
ถนนดอนนก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทร. 077-206985
โทรสาร. 077-206-986
E-mail. saraban_sni@nfc.mail.go.th

Popular Post